FBS ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16

ปลดล็อกของรางวัลวันเกิด: ตั้งแต่แก็ดเจ็ตและรถในฝันไปจนถึงทริป VIPเรียนรู้เพิ่มเติม
เปิดบัญชี
เปิดบัญชีล็อกอิน
เปิดบัญชี

30 เม.ย. 2025

พื้นฐาน

ประเภทของการลงทุนใดบ้างที่เป็นหลักทรัพย์?

ประเภทของการลงทุนใดบ้างที่เป็นหลักทรัพย์?

หลักทรัพย์: คู่มือฉบับย่อสำหรับนักลงทุน

หลักทรัพย์คือรากฐานของตลาดการเงิน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเจ้าของ สิทธิ์ในการทวงหนี้ และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ช่วยให้เงินทุนไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจ แต่จะแยกหลักทรัพย์ออกจากการลงทุนประเภทอื่น และเลือกใช้อย่างชาญฉลาดเพื่อสร้างความมั่งคั่งได้อย่างไร? คุณใช้หลักทรัพย์เพื่อกระจายพอร์ตการลงทุน ประเมินความเสี่ยง และปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างไร? มาทำความรู้จักโลกของหลักทรัพย์ให้ลึกขึ้นผ่านบทความนี้ของ FBS และค้นหาคำตอบไปด้วยกัน

ประเภทหลัก ๆ ของหลักทรัพย์

หลักทรัพย์แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่: ตราสารทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน และตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน แต่ละประเภทเหมาะกับเป้าหมายการลงทุนที่แตกต่างกัน

ตราสารทุน

ตราสารทุนหรือหุ้นเป็นการแสดงความเป็นเจ้าของในบริษัท เมื่อคุณซื้อตราสารทุน (หุ้น) คุณก็กลายเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้น นักลงทุนมีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่งจากผลกำไรของบริษัทในรูปแบบของเงินปันผล และกำไรจากส่วนต่างราคา

หุ้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

  • หุ้นสามัญ (Common Stock) - ให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นในการออกเสียงลงคะแนน มีโอกาสได้รับส่วนแบ่งผลกำไรผ่านการจ่ายเงินปันผล หากบริษัทมีนโยบายจ่ายปันผล (Microsoft (MSFT))

หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) (อาจถูกจัดเป็นหลักทรัพย์กึ่งหนี้กึ่งทุน) - ผู้ถือหุ้นมักไม่มีสิทธิ์ออกเสียง (หรือมีจำกัด) มักได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ ได้รับการจ่ายเงินก่อนในกรณีบริษัทเลิกกิจการ (Bank of America (BAC.PR.L)

หุ้นมีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง แต่ก็มีความเสี่ยงที่สูงกว่าเช่นกัน โปรดทราบว่ามูลค่าของหุ้นจะขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของบริษัทและสภาพตลาดในขณะนั้น

ทำไมถึงควรเลือกหุ้น?

คุณสามารถซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เช่น ตลาดหุ้นนิวยอร์ก (NYSE) และ Nasdaq ซึ่งมีสภาพคล่องสูงและสามารถซื้อขายได้ง่าย

ตราสารหนี้

ตราสารหนี้ ได้แก่ พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง และหนี้สินของบริษัท หลักทรัพย์ประเภทหนี้คือการกู้ยืม โดยธุรกิจหรือรัฐบาลจะกู้เงินจากนักลงทุน โดยในทางกลับกันนักลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเป็นประจำ (เรียกว่าการจ่ายคูปอง) และการคืนเงินต้นเมื่อถึงวันครบกำหนดที่ตกลงกันไว้

ตราสารหนี้มีประเภทใดบ้าง?

  • พันธบัตร (Bonds) เป็นตราสารหนี้ระยะยาวที่มักมีอายุมากกว่า 1 ปี

  • ตั๋วเงินคลัง (T-bills) เป็นหลักทรัพย์รัฐบาลระยะสั้น (ส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี)

  • ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น (Commercial papers) เป็นหนี้ระยะสั้นของบริษัท (มักมีอายุไม่เกิน 270 วัน) ตัวอย่างเช่น บริษัท Tesla, Inc. ออกพันธบัตร

  • หุ้นกู้เทศบาล (Municipal bonds) เป็นเงินกู้ที่ออกโดยเมืองหรือรัฐเพื่อใช้ในโครงการสาธารณะ (เช่น หุ้นกู้เทศบาลนิวยอร์ก)

ทำไมควรเลือกตราสารหนี้?

ตราสารหนี้ให้ผลกำไรน้อยกว่า แต่ก็มีความผันผวนน้อยกว่า คุณสามารถลดระดับความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตการลงทุนและกระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนในพันธบัตร หากคุณเป็นนักลงทุนที่ชอบความปลอดภัยและต้องการผลตอบแทนที่มั่นคงพร้อมความเสี่ยงที่ต่ำกว่า คุณอาจจะชอบพันธบัตรมากกว่า ส่วนพันธบัตรรัฐบาล เช่น ตั๋วเงินคลังของสหรัฐฯ มักถูกมองว่าปลอดความเสี่ยง และตราสารหนี้เอกชนจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงด้านเครดิตบางส่วน

คิดจะลงทุนใช่ไหม? ลองใช้ FBS แพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้และได้รับการกำกับดูแล

ตราสารอนุพันธ์

อนุพันธ์คือตราสารทางการเงินที่มูลค่าของมันจะขึ้นอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์อ้างอิง เช่น หุ้น พันธบัตร สินค้าโภคภัณฑ์ สกุลเงิน หรืออัตราดอกเบี้ย ตราสารอนุพันธ์ ได้แก่:

  • ออปชั่น (Options) — ให้สิทธิ์ (แต่ไม่ใช่ข้อผูกมัด) แก่นักลงทุนในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ในราคาที่กำหนด

  • สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) — ข้อผูกมัดที่จะซื้อหรือขายสินทรัพย์ในราคาที่กำหนดล่วงหน้าเมื่อถึงวันที่ตกลงกัน

  • สัญญาแลกเปลี่ยน (Swaps) — ข้อตกลงเพื่อแลกเปลี่ยนกระแสเงินสด (เช่น สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย)

ทำไมต้องซื้อตราสารอนุพันธ์?

อนุพันธ์สามารถเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในพอร์ตการลงทุนของคุณ เพราะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเก็งกำไรจากความเคลื่อนไหวของราคา ป้องกันความเสี่ยง (Hedge) และใช้เงินลงทุนน้อยแต่ได้โอกาสในการลงทุนเชิงกลยุทธ์ ตัวอย่าง: หากต้องการเก็งกำไรหรือป้องกันความเสี่ยงจากตลาด ลองพิจารณาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า S&P 500 ดูสิ หมายเหตุ: การซื้ออนุพันธ์ไม่ได้ทำให้คุณเป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิงโดยตรง

โปรดทราบว่าแม้อนุพันธ์จะถูกใช้เพื่อการป้องกันความเสี่ยง แต่ตัวอนุพันธ์เองมีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นหลักทรัพย์ประเภทนี้จึงต้องการประสบการณ์และจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังในการลงทุน

ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (Hybrid Securities)

ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนเป็นการรวมลักษณะของหลักทรัพย์ประเภทหนี้และประเภททุนเข้าด้วยกัน โดยสามารถให้ผลตอบแทนเป็นรายได้ปกติเหมือนพันธบัตร แต่ก็อาจแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ถือเป็นทางเลือกที่ลงตัวระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน สำหรับนักลงทุนที่ต้องการกำไรสูงขึ้นแต่ยังคงระมัดระวังความเสี่ยง ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ได้แก่:

  • หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Bonds) - หุ้นกู้ที่สามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญตามจำนวนและเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้

  • หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ (Perpetual Bonds) - ไม่มีวันครบกำหนดไถ่ถอน และมักจ่ายดอกเบี้ยคงที่ไปเรื่อย ๆ

  • หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Shares) - อาจจัดเป็นหลักทรัพย์ประเภททุนได้เช่นกัน ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

ทำไมควรเลือกตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน?

ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนจะให้ผลตอบแทนคงที่เหมือนการลงทุนในตราสารหนี้ ในขณะเดียวกันก็ยังมีโอกาสได้รับผลกำไรจากการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น ในแง่ของความเสี่ยง ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนจะอยู่กึ่งกลางระหว่างหุ้นสามัญและพันธบัตรทั่วไป สรุปแล้ว ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการรายได้ประจำและยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง

ตรวจสอบตารางเปรียบเทียบหลักทรัพย์ต่าง ๆ ของเราและเลือกสิ่งที่คุณต้องการ

ประเภทหลักทรัพย์

ความเป็นเจ้าของ

ประเภทของรายได้

ระดับความเสี่ยง

ตัวอย่าง

ตราสารทุน

ใช่

เงินปันผลหรือดอกเบี้ย (ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์)

สูง

หุ้นของ Apple (AAPL)

ตราสารหนี้

ไม่

ดอกเบี้ยคงที่

ต่ำถึงปานกลาง

ตั๋วเงินคลังสหรัฐฯ หุ้นกู้ Tesla

ตราสารอนุพันธ์

ไม่

ผันแปร

สูง

สัญญาฟิวเจอร์ส S&P 500, คอลออปชัน

ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน

บางส่วน: ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์

คงที่หรือผันแปร

ปานกลาง

หุ้นกู้แปลงสภาพ, หุ้นบุริมสิทธิ

ยังไม่แน่ใจเลยว่าจะเริ่มลงทุนที่ไหนดีใช่ไหม? มาเปิดโลกการลงทุนกับหลักทรัพย์ไปกับ FBS — เปิดบัญชีทดลองตอนนี้เลย!

กรอบการกำกับดูแลและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

กฎระเบียบด้านหลักทรัพย์ถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องนักลงทุนจากกิจกรรมการฉ้อโกง สร้างความยุติธรรม ความโปร่งใส และประสิทธิภาพของตลาด ตลอดจนรักษาเสถียรภาพทางการเงินให้กับผู้มีส่วนร่วมทั้งหมด

ทั้งเทรดเดอร์และนักลงทุนควรทำความเข้าใจข้อกำหนดและข้อจำกัดทางกฎระเบียบที่ใช้กับหลักทรัพย์ ในสหรัฐอเมริกา ตลาดหลักทรัพย์จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ส่วนในยุโรปจะอยู่ภายใต้ European Securities and Markets Authority (ESMA) แม้กฎระเบียบจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ แต่ก็มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ:

  • ตรวจสอบให้บริษัทต่าง ๆ เผยแพร่ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง และทันเวลา เช่น เงื่อนไขการชำระเงิน ความเสี่ยง และสุขภาพทางการเงิน

  • ป้องกันการเทรดโดยใช้ข้อมูลภายในและปั่นตลาด และ

  • ป้องกันการเก็งกำไรที่มากเกินไป

เมื่อเลือกแพลตฟอร์มหรือโบรกเกอร์ ต้องตรวจสอบว่ามีการกำกับดูแล เพื่อความปลอดภัยของเงินทุนคุณ FBS อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ทุกการทำธุรกรรมจึงมีความปลอดภัยและมั่นคง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีม FBS วันนี้!

หลักทรัพย์ vs. การลงทุนทางเลือก

ประเภทของการลงทุนใดบ้างที่เป็นหลักทรัพย์?

นอกจากหลักทรัพย์แล้ว ยังมีการลงทุนอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น อสังหาริมทรัพย์ สินค้าโภคภัณฑ์ และการลงทุนโดยตรง ซึ่งแม้จะช่วยกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนได้ แต่ก็ไม่จัดเป็นหลักทรัพย์ตามนิยามมาตรฐาน

การลงทุนทางเลือก ได้แก่:

  • อสังหาริมทรัพย์ — ทรัพย์สินที่อยู่อาศัยหรือเชิงพาณิชย์

  • หุ้นนอกตลาด — การเป็นเจ้าของบริษัทเอกชน

  • กองทุนเฮดจ์ฟันด์ — กองทุนรวมที่จำเป็นต้องมีการวางกลยุทธ์ขั้นสูง

  • สินค้าโภคภัณฑ์ – ทองคำ แพลทินัม น้ำมัน ฯลฯ

  • สกุลเงินดิจิทัล – Bitcoin, Ethereum ฯลฯ

  • ของสะสม — เช่น งานศิลปะต่าง ๆ

ข้อแตกต่างจากหลักทรัพย์ในตลาดหลัก ได้แก่

  • สภาพคล่องต่ำ

  • การกำกับดูแลที่จำกัด

  • ความโปร่งใสน้อยกว่า

  • โอกาสทำกำไรสูง แต่ความเสี่ยงก็สูงตาม

สรุป

การตัดสินใจทางการเงินอย่างรอบคอบจำเป็นต้องเข้าใจว่าการลงทุนประเภทใดจัดอยู่ในหมวดหมู่หลักทรัพย์ และแต่ละประเภททำงานอย่างไร การผสมผสานความรู้นี้กับประสบการณ์ในตลาดที่เปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง คือกุญแจสำคัญสู่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจในระยะยาว

FBS ทำให้การเทรดเป็นเรื่องง่าย — เริ่มเลยตอนนี้!

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ:

เปิดบัญชี FBS

โดยการลงทะเบียน คุณได้ยอมรับเงื่อนไขของ ข้อตกลงลูกค้า FBS และ นโยบายความเป็นส่วนตัว FBS และยอมรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขายในตลาดการเงินระดับโลก

FBS ณ สื่อสังคมออนไลน์

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon

ติดต่อเรา

iconhover iconiconhover iconiconhover iconiconhover icon
store iconstore icon
ดาวน์โหลดได้ที่
Google Play

การซื้อขาย

บริษัท

เกี่ยวกับ FBS

เอกสารทางกฎหมาย

ข่าวเกี่ยวกับบริษัท

สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี้

ศูนย์ช่วยเหลือ

โปรแกรมพันธมิตร

เว็บไซต์นี้ดำเนินการโดย FBS Markets Inc. หมายเลขจดทะเบียน 000001317 ซึ่ง FBS Markets Inc. ได้รับการจดทะเบียนโดย Financial Services Commission ภายใต้พระราชบัญญัติอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ฯ 2021 (Securities Industry Act 2021) ใบอนุญาตเลขที่ 000102/31 ที่อยู่สำนักงาน: 9725, Fabers Road Extension, Unit 1, Belize City, Belize

โดย FBS Markets Inc. ไม่ได้ให้บริการทางการเงินแก่ผู้อยู่อาศัยในเขตอำนาจศาลบางแห่ง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียง: สหรัฐอเมริกา, สหภาพยุโรป, สหราชอาณาจักร, อิสราเอล, สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน, เมียนมาร์

ธุรกรรมการชำระเงินได้รับการจัดการโดย HDC Technologies Ltd.; Registration No. HE 370778; Legal address: Arch. Makariou III & Vyronos, P. Lordos Center, Block B, Office 203, Limassol, Cyprus ที่อยู่เพิ่มเติม: Office 267, Irene Court, Corner Rigenas and 28th October street, Agia Triada, 3035, Limassol, Cyprus

เบอร์ติดต่อ: +357 22 010970 เบอร์ติดต่อเพิ่มเติม: +501 611 0594

สำหรับความร่วมมือ กรุณาติดต่อเราผ่าน [email protected]

คำเตือนเรื่องความเสี่ยง: ก่อนที่คุณจะเริ่มทำการซื้อขาย คุณควรเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับตลาดสกุลเงินและการซื้อขายโดยใช้มาร์จิ้นอย่างถ่องแท้ และคุณควรตระหนักถึงระดับประสบการณ์ของตนเอง

การคัดลอก การทำสำเนา การเผยแพร่ รวมถึงแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตของเนื้อหาใดๆ จากเว็บไซต์นี้สามารถดำเนินการได้เฉพาะเมื่อได้รับการอนุญาตที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน การชี้แนะ หรือการชักชวนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการลงทุนใด ๆ ทั้งสิ้น